ปัญหาหมาจรจัด


 

ปัญหาสุนัขจรจัด สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา


 
        จากการสัมมนาร่วมระหว่างสมาคมคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์แห่งโลก (THE WORLD SOCIETY FOR THE PROTECTION OF ANIMALS หรือ WSPA) กับกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา เพื่อหากลยุทธ์การควบคุมสุนัขจรจัดให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการจำแนกแยกแยะสาเหตุที่มาปัญหาสุนัข/แมวจรจัด
          ปัญหาสุนัขจรจัด เกิดจากการที่มีการเพิ่มของจำนวนประชากรสุนัขมากเกินไป (OVER POPULATION)  ซึ่งสาเหตุใหญ่ ๆ มาจาก : การขาดความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์
  • การขาดความรับผิดชอบของผู้เพาะพันธุ์สัตว์
  • การขาดความรับผิดชอบของผู้เพาะพันธุ์และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์สัตว์
  • การขาดความรับผิดชอบของสัตวแพทย์
  • การขาดความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ

 
  ผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
 ผลกระทบต่อคน
|  ผลกระทบต่อสุนัขและแมว
  • เป็นพาหะสำคัญนำโรคพิษสุนัขบ้า และโรคสัตว์ติดคนอื่น ๆ
  • รบกวนและสร้างความเสียหายต่อปศุสัตว์
  • มลพิษจากอุจจาระ
  • มลภาวะจากเสียง
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร
  • เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บบนถนน
  • เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของฟาร์ม,ปศุสัตว์
  • โรค
  • ภาวะขาดอาหาร (ทุพโภชนา)
  • ดุร้าย
  • ถูกทำลาย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่
 
 
        อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้สุนัขจรจัดมีการดำรงชีวิตอยู่ได้  วิธีที่จะควบคุมจำนวนสุนัขให้ได้ผลที่ควรพิจารณา คือ
  1. เข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสัตว์
  2. ควบคุมการผสมพันธุ์
  3. ควบคุมแหล่งที่อาศัย
 
        โดยมี 3 องค์กรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา คือ
  1. ภาครัฐ
  2. สัตวแพทย์
  3. ประชาชน
 
        และควรแก้ปัญหาที่รากเหง้าของสาเหตุ คือ
    1. การเพิ่มของจำนวนประชากรมากเกินไป (OVER POPULATION)
    2. การขาดความรับผิดชอบของเจ้าของ
 
        โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ประการ (THE KEY PRINCIPLE OF STRAY CONTROL) คือ
    1. การออกกฎหมายในระดับประเทศหรือท้องถิ่น
    2. การจดทะเบียนสุนัขเพื่อควบคุมสุนัขมีเจ้าของ การฉีดวัคซีน
    3. การทำหมัน
    4. การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบ และให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน
        มาตรการหลักทั้ง 4 มาตรการนั้นจะต้องทำไปด้วยกันจึงจะสำเร็จ
 

http://www.thaispca.org/v2/display/l2.php?item=16&id=91

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น